การปลูกกระดูกฟันในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

 

  • การปลูกกระดูกฟันเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มกระดูกสันเหงือกในผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
  • ช่วงอายุที่เหมาะสมในการปลูกกระดูกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากควรทำในช่วงฟันแท้ที่ใกล้ตำแหน่งปากแหว่งเพดานโหว่กำลังงอกขึ้นมาในช่องปาก หรืออายุ 7-12 ปี
  • การผ่าตัดปลูกกระดูกกระทำภายใต้การนำสลบทั่วร่าง ดังนั้นขณะทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะหลับและไม่สามารถจดจำขณะผ่าตัดได้
  • การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดภายใต้การนำสลบทั่วร่าง ผู้ป่วยจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการผ่าตัดมักใช้เวลาประมาณ 2-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของปากแหว่ง เพดานโหว่
  • ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หลังผ่าตัด

ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่มักจะมีปัญหากระดูกฟันหรือสันเหงือกโหว่ กระดูกฟันหรือสันเหงือกคือกระดูกเบ้าฟันเพื่อรองรับฟัน เมื่อภาวะกระดูกปากแหว่ง เพดานโหว่ ผู้ป่วยมีความวิการบริเวณกระดูกฟัน หรือรูโหว่ระหว่างปากและช่องจมูก ช่องโหว่นี้จะทำให้ฟันไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ และพื้นจมูกผิดปกติ การซ่อมแซมโดยการปลูกกระดูกจะช่วยพัฒนาการด้านสุขภาพฟันซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยดังนี้ การกิน การกลืน การเจริญของกระดูกใบหน้า นอกจากนี้ยังส่งผลในบุลคลิกภาพ ซึ่งเสริมสร้างความมั่นใจ

การปลูกกระดูกสันเหงือกเป็นการซ่อมแซมช่องโหว่ของสันเหงือก และเสริมความแข็งแรงของสันกระดูกเพื่อให้เสริมความนูนของฐานจมูก กระดูกใหม่ที่ปลูกจะช่วยให้รากฟันเจริญได้อย่างสมบูรณ์ โดยช่วงเวลาการผ์าตัดมักจะทำช่วงรากฟันเขี้ยวสร้างตัวได้ประมานสามในสี่ส่วน

การปลูกกระดูกนั้นมักนำมาจากกระดูกสะโพกของผู้ป่วยเองโดยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะเปิดแผลยาวประมาน 3-6 เซนติเมตรเหนือสันกระดูกสะโพก โดยจะทำการเปิดเปลือกกระดูกแข็งภายนอก เพื่อนำส่วนของไขกระดูกด้านในที่มีลักษณะร่วนและนิ่ม เพื่อให้ให้สามารถปรับรูปร่างได้ตามช่องโหว่ของสันเหงือกได้ เหงือกจะถูกเย็บปิดเพื่อหุ้มกระดูกที่ปลูกล้อมรอบ ไหมเย็บจะถูกทิ้งไว้จนกระทั่งเหงือกสมานตัวกัน

 

การดูแลภายหลังการผ่าตัด

ภายหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยควรทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ไม่ดูดหลอดจนแผลจะหายดี

  • ภายใน 24 ชั่วโมงแรกภายหลังการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยยังพักอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำและอาหารเหลว
  • ผู้ป่วยจะพักในโรงพยาบาลจนกระทั่ง ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้ และลุกปัสสาวะได้ปกติ
  • เมื่อผู้ป่วยดื่มน้ำได้เพียงพอ พยาบาลจะทำการเอาสานน้ำเกลือทางหลอดเลือดออก เพื่อเตรียมการกลับบ้าน
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาลมากกว่า 1 วัน หรือ ผู้ปกครองต้องการการดูแลเป็นพิเศษก่อนที่จะกลับบ้าน
  • ผู้ป่วยจะได้รับยาระงับปวดเพื่อลดอาการปวดแผลผ่าตัด โดยมากมักเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและมีความปลอดภัยสูงสำหรับเด็ก
  • แพทย์จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด
  • แพทย์จะทำการนัดติดตามผลการรักษา 1 สัปดาห์ภายหลังการผ่าตัด

 

  • กรุณาติดต่อแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้
    • มีไข้สูง
    • หายใจติดขัดหรือลำบาก
    • มีเลือดหรือหนองไหลออกจากแผล
  • ภายหลังจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มนม ผู้ป่วยความความสะอาดช่องปาก โดยการบ้วนปากเบาๆ เพื่อป้องกันการสะสมของครบอาหารบริเวณแผลในช่องปาก
  • ผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดร่างกายได้ โดยหากในกรณีปิดแผลบริเวณสะโพกด้วยวัสดุกันน้ำ ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ หรือหากผิดแผลด้วยผ้าก๊อซ แนะให้ใช้การเช็ดตัว เพื่อให้ปากแผลไม่อับชื้น
  • เมื่อแผลในช่องปากสมานดีแล้ว หรือประมาณ 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรกลับไปพบทันตแพทย์จัดฟันเพื่อเตรียมการขึ้นของฟันแท้เข้ามาในช่องว่าง หรือติดเครื่องมือเพื่อเตรียมเคลื่อนฟันในลำดับถัดไป
Scroll to Top