case-01
case-01
previous arrow
next arrow
case-01
case-01
previous arrow
next arrow

พยาธิสภาพของกระดูกขากรรไกร

การผ่าตัดเพื่อยกเยื่อไซนัสนั้นทำเพื่อการเสริมความสูงของกระดูกบริเวณขากรรไกรบนบริเวณฟันกราม หรือเรียกว่า การเสริมกระดูกไซนัส กระดูกที่เสริมระหว่างกระดูกขากรรไกรและโพรงอากาศของขากรรไกรบน ซึ่งอย่างข้างจมูกทั้งสองข้าง ในการสร้างกระดูกจำเป็นต้องยกเยื่อโพรงอากาศ และจำเป็นต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร

ผู้ป่วยทำจำเป็นต้องทำการผ่าตัดยกเยื่อไซนัส

การผ่าตัดยกเยื่อไซนัสจำเป็นต้องทำเมื่อความสูงของกระดูกของขากรรไกรบน หรือโพรงอากาศอยู่ใกล้กับช่องปากมากเกินกว่า ที่จะสามารถทำการรองรับการผ่าตัดฝังรากเทียมได้ โดยสามารถเกิดขึ้นในผู้ป่วยได้หลายกรณีเช่น

  • ผู้ที่สูญเสียฟันบริเวณขากรรไกรบน โดยเฉพาะฟันหลัง และไม่มีปริมาณกระดูกเพียงพอสำหรับรากฟันเทียม เนื่องจากลักษณะตามธรรมชาติของกระดูกขากรรไกรบนบางกว่ากระดูกขากรรไกรล่าง
  • กระดูกสูญเสียเนื่องจากโรคเหงือกหรือปริทันต์อักเสบ
  • การสูญเสียฟันเป็นระยะเวลานาน เมื่อฟันถูกถอนไปกระดูกโดยรอบจะเริ่มละลายตัว และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกระดูกจะมีการละลายตัวมากจนไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้
  • ตำแหน่งของโพรงอากาศขากรรไกรบนอยู่กับตำแหน่งการผ่าตัดฝังรากเทียมมากเกินไป ทั้งนี้ขนาดและรูปร่างของโพรงอากาศมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และสามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ตามอายุ

การเตรียมการ

กระดูกที่นำมาใช้ในการผ่าตัดยกเยื่อไซนัส สามารถเลือกใช้กระดูกของผู้ป่วยเอง จากบุคคลอื่น สัตว์ หรือกระดูกเทียมสังเคราะห์ ในกรณีเลือกใช้กระดูกของผู้ป่วยเองนั้น สามารถเลือกกระดูกจากช่องปากหรือบริเวณอื่นของร่างกายได้เช่น กระดูกสะโพกหรือกระดูกหัวเข่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการถ่ายภาพรังสีก่อนได้รับการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสเพื่อศึกษาลักษณะของกระดูกขากรรไกรและโพรงอากาศ การถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์โทโมแกรมหรือซีที ให้รายละเอียดด้านความกว้างและสูงของกระดูกและบอกถึงสภาวะของเยื่อโพรงอากาศ หากผู้ป่วยมีภาวะแพ้อากาศ หรือไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงที่มีสภาวะดังกล่าว

กระบวนการผ่าตัด

ทันตแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดทำการกรีดเหงือกในตำแหน่งที่ต้องการเสริมกระดูก เปิดแผ่นเหงือกเพื่อเข้าถึงกระดูก หลังจากนั้นทำการกรอกระดูกเป็นช่องขนาดเล็ก ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์สามารถเข้าถึงเยื่อโพรงอากาศไซนัส และใช้เครื่องมือแยกเยื่อไซนัสออกจากกระดูกขากรรไกรอย่างแผ่วเบา

ทันตแพทย์จะนำผงกระดูกสำหรับปลูกกระดูกใส่ไประหว่างโพรงอากาศ ปริมานกระดูกที่ใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นกับความสูงของกระดูกที่ต้องการเพื่อรองรับรากฟันเทียม

เมื่อกระดูกถูกปลูกเข้าไปเป็นที่เสร็จสิ้น ทันตแพทย์ทำการเย็บปิดเหงือก หากในกรณีที่สามารถฝังรากเทียมพร้อมกับการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสได้ทันที ทันตแพทย์จึงผ่าตัดฝังรากเทียมไปในบริเวณที่วางแผนไว้ โดยจะสามารถลดระยะเวลาการรอเพื่อการสมานของกระดูกได้

การติดตามผลการรักษา

ภายหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวมบริเวณแผลผ่าตัด ในบางรายอาจมีเลือดไหลออกทางปากและจมูก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการจามออกทางจมูกอย่างรุนแรง หรือการเป่าลมออกทางจมูก เนื่องจากอาจทำให้กระดูกที่ทำการปลูกไว้เคลื่อนที่และไหมที่เย็บไว้หลุดได้

ทันตแพทย์อาจพิจารณาแนะนำผู้ป่วยล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือ และจ่ายยาเพื่อป้องกันคัดจมูกและลดการอักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผล ผู้ป่วยจึงมักได้รับยาปฏิชีวนะ หรือน้ำยาบ้วนปากเพื่อต่อต้านจุลินทรีย์ ทั้งนี้โดยมากผู้ป่วยมักพบความเจ็บปวดเล็กน้อยหลังทำการผ่าตัด

ทันตแพทย์จะทำการนัดหลังจากผ่าตัดประมาน 7-10 วัน เพื่อทำการตรวจแผลผ่าตัดและตัดไหม หากไหมยังไม่ละลายไปทั้งหมด ในบางกรณีผู้ป่วยอาจทำการนัดมากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าแผลจะหายอย่างสมบูรณ์

หลังจากผ่าตัดเพื่อยกเยื่อไซนัส ผู้ป่วยและทันตแพทย์จำเป็นต้องรอการสมานของกระดูกที่ปลูกเพื่อเชื่อมกับกระดูกขากรรไกร ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของง

บางสถานพยาบาลอาจนำเทคนิคเพื่อช่วยการสมานกระดูกเพื่อเร่งระยะเวลาให้รวดเร็วขึ้น เช่น เกร็ดเลือดเข้มข้นจากการปั่น โดยได้จากการใช้เลือดของผู้ป่วย ปั่นแยกเพื่อให้ได้เกร็ดเลือดเข้มข้นแล้วนำไปผสมกับกระดูกที่ใช้ปลูก เพื่อให้มีสารเร่งการเจริญของเนื้อเยื่อที่เพิ่มมากขึ้น หรือวัสดุสังเคราะห์จำพวกโปรตีนที่มีฤทธิ์เร่งการสมานของกระดูก

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงหลักของการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสคือการฉีกขาดหรือทะลุของเยื่อไซนัส หากพบการฉีกขาดหรือทะลุของเยื่อไซนัส ทันตแพทย์ผ่าตัดจะทำการเย็บ หรือซ่อมแซมด้วยแผ่นคอลลาเจน หากการซ่อมแซมเยื่อไซนัสไม่สำเร็จทันตแพทย์ผ่าตัดอาจทำการยุติหัตถการ และรอให้เยื่อซ่อมแซมตัวเองก่อนจึงพิจารณาทำการผ่าตัดอีกครั้ง ซึ่งอาจจำเป็นต้องรอระยะเวลา 2-3 เดือน เยื่อไซนัสที่ซ่อมสร้างขึ้นมาใหม่มักจะมีความแข็งแรงและทนทานมากขั้น ซึ่งจะช่วยให้การผ่าตัดครั้งที่สองนั้นทำได้สะดวกขึ้น แผลติดเชื้อเป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่น้อยมาก

ความเสี่ยงอีกประการคือ การไม่เชื่อมติดของกระดูกที่ปลูกกับกระดูกขากรรไกร ซึ่งพบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามหากเกิดสภาวะดังกล่าวขึ้น ทันตแพทย์ผ่าตัดจำเป็นทำการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสและปลูกกระดูกซ้ำเพื่อให้ได้กระดูกที่แข็งแรงเพียงพอในการรองรับรากฟันเทียม

ผู้ป่วยติดต่อหรือกลับมาพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการบวมหรือปวดมีอาการแย่ลง เมื่อวันที่สามหลังการผ่าตัด
  • มีเลือดไหลหลังจากผ่าตัดในวันที่สาม
  • มีเลือดออกลักษณะสีแดงสด และต่อเนื่อง โดยทั่วไปเลือดซึมสามารถเกิดขึ้นได้ มีลักษณะสีคล้ำและไหลช้า
  • ผู้ป่วยเศษกระดูกที่ใช้ปลูกหลักจากไอ จาม
  • มีไข้สูง
Scroll to Top