case-01
case-01
case-01
case-01
case-01
previous arrow
next arrow
case-01
case-01
case-01
case-01
case-01
previous arrow
next arrow

รากเทียม

การผ่าตัดฝังรากเทียม  Dental implant surgery

การผ่าตัดฝังรากเทียมเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปด้วยรากฟันเทียมโลหะ โดยมีรูปร่างคล้ายสกรู เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาสามารถทดแทนฟันที่ขาดหายได้อย่างใกล้เคียงฟันธรรมชาติ การฝังรากเทียมสามารถทดแทนการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้หรือสะพานฟันซึ่งอาจหลวมหรือไม่พอดี และหลีกเลี่ยงการเตรียมฟันธรรมชาติเพื่อรองรับสะพานฟัน

กระบวนการผ่าตัดฝังรากเทียมขึ้นอยู่กับชนิดของรากฟันเทียมและลักษณะของกระดูกสันเหงือก การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจมีขั้นตอนได้หลากหลายขึ้นกับความซับซ้อนของการบูรณะ โดยเป้าหมายสำคัญคือการให้ความแข็งแรงแก่รากฟันเทียม ซึ่งต้องการความยึดติดของกระดูกรอบรากฟันเทียม ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาดังนั้นกระบวนการรักษาอาจใช้เวลานานหลายเดือน

 

ประโยชน์ของรากฟันเทียม

 

รากฟันเทียมจะถูกฝังลงในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียรากฟันธรรมชาติไป ซึ่งจะรองรับครอบฟันเทียม เนื่อด้วยรากฟันเทียมผลิตจากโลหะไทเทเนียมซึ่งสามารถเข้ากันกับเนื้อกระดูกขากรรไกรได้ดี รากฟันเทียมจึงไม่สามารถขยับ หลวม นอกจากนี้วัสดุของรากฟันเทียมไม่สามารถผุกร่อนได้ ต่างจากเนื้อฟันธรรมชาติ

 

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับรากฟันเทียม

  • สูญเสียฟันหนึ่งซี่ หรือบางส่วนของขากรรไกร
  • กระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว
  • มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม หรือสามารถผ่าตัดเสริมกระดูกได้
  • มีสุขภาพเนื้อเยื่อและเหงือกที่ดี
  • ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในเนื้อกระดูก
  • ไม่สามารถใช้ฟันเทียมถอดได้
  • ต้องการ การพูดที่ดีขึ้น
  • สามารถรับการักษาต่อเนื่องได้
  • ไม่สูบบุหรี่

ความเสี่ยง

เฉกเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ การผ่าตัดฝังรากเทียมมีความเสี่ยงบางประการ ปัญหาจากการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นและพบได้ ได้แก่

  • ติดเชื้อที่ตำแหน่งรากฟันเทียม
  • บาดเจ็บหรือทำลายอวัยวะรอบข้าง เช่น ฟันข้างเคียงหรือเส้นเลือด
  • บาดเจ็บเส้นประสาท ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรือความรู้สึกคล้ายเหน็บชาที่บริเวณ ฟัน เหงือก ริมฝปากและคาง
  • โพรงอากาศไซนัสอักเสบ เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมบริเวณฟันบนและเกิดการทะลุเป็นช่องระหว่างปากและโพรงอากาศ

การเตรียมตัวก่อนการรักษา

การวางแผนการรักษาผ่าตัดฝังรากเทียมอาจจำเป็นต้องร่วมกันประเมินโดยทันตแพทย์เฉพาะทางหลายสาขา เช่น ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เนื่องจากการรักษาด้วยรากฟันเทียมต้องทำการผ่าตัดอย่างน้อยหนึ่งครั้งและมากกว่าในบางกรณี การตรวจและวางแผนการรักษามีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การตรวจช่องปากและฟัน อาจจำเป็นต้องส่งตรวจภาพรังสีสามมิติเพิ่มเติม รวมทั้งแบบจำลองฟันและกระดูกสันเหงือก
  • ทบทวนประวัติทางการแพทย์ กรุณาให้ประวัติโรคประจำตัวหรือยาได้ที่รับ ทั้งหมดให้ทันตแพทย์รับทราบ ในกรณีที่ท่านมีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฎิชีวนะก่อนการรักษาในบางกรณี
  • การวางแผนการรักษา เพื่อเตรียมในการรักษา รวมถึงปรึกษาร่วมกับผู้ป่วยในความคาดหวังของผลการรักษา และจำนวนและชนิดของรากฟันเทียมหรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา

การควบคุมความเจ็บปวด สามารถทำได้หลายวิธี แม้โดยส่วนใหญ่สามารถทำหัตถการภายใต้ยาชาเฉพาะที่ แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาคลายกังวลหรือ การนำสลบทั่วร่างร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนทำหัตถการ และหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัดควรพักฟิ้นและกลับบ้านพร้อมกับผู้ดูแล

 

การฝังรากเทียมมักให้การรักษาลักษณะผู้ป่วยนอก และมีกระบวนการหลายขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  • ถอนฟันที่จำเป็นหรือไม่สามารถบูรณะได้
  • เตรียมกระดูกสันเหงือก หรือเสริมกระดูกหากจำเป็นในบางกรณี
  • ผ่าตัดฝังรากเทียม
  • รอเวลาเพื่อการสมานของกระดูก
  • การใส่เดือยรองรับครอบฟัน
  • การใส่ครอบฟัน

กระบวนการรักษาทั้งหมดใช้เวลานานหลายเดือนจนกว่าจะเสร็จสิ้นการรักษา โดยเวลาโดยส่วนมากเพื่อการรอการหายของแผลและการสมานของกระดูก ขึ้นกับกรณี หากมีการใช้กระบวกการรักษาเพิ่มเติมบางประเภทอาจจำเป็นต้องใช้เวลานานมากขึ้น

 

การปลูกกระดูกบริเวณขากรรไกร

ในกรณีที่กระดูกสันเหงือกบางเกินกว่ารองรับรากฟันเทียมได้ การผ่าตัดปลูกกระดูกเพื่อเสริมสันกระดูกก่อนผ่าตัดฝังรากเทียม เนื่องจากแรงจากการบดเคี้ยวเกินกว่ากระดูกรอบรากฟันเทียมรองรับได้ ซึ่งนำไปสู่การล้มเหลวของรากฟันเทียม และจำเป็นต้องผ่าตัดปลูกสันกระดูกเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูกซึ่งรองรับรากฟันเทียม

ปัจจุบันวัสดุที่นำมาใช้เพื่อทดแทนกระดูกเพื่อใช้ในการผ่าตัดปลูกกระดูก มีหลากหลายทางเลือกเช่น ใช้กระดูกจากตำแหน่งอื่นของร่างกาย หรือใช้กระดูกเทียมสังเคราะห์ โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องปรึกษาหารือผู้ป่วยร่วมกันกับทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา

กระดูกที่ได้รับการปลูกเพื่อเสริมสร้างกระดูกเพื่อรองรับรากเทียมอาจใช้เวลานานหลายเดือน แต่ในบางกรณีหากมีความจำเป็นต้องเสริมกระดูกปริมาณไม่มาก สามารถทำพร้อมกับขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียมได้

 

การผ่าตัดฝังรากเทียม

ในระหว่างการผ่าตัดฝังรากเทียม ทันตแพทย์ทำการกรีดเปิดเหงือกเพื่อเข้าถึงกระดูก หลังจากนั้นทำการเจาะรูสำหรับรากเทียมในตำแหน่งที่ได้วางแผนไว้ เพื่อที่จะได้ทำการฝังรากเทียมโลหะเพื่อทดแทนรากฟันที่สูญเสีย ในขั้นตอนนี้จะยังมีช่องว่างระหว่างฟันหลังการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตามการใช้ฟันเทียมถอดได้เพื่อทดแทนฟันในระหว่างที่รอการสมานของกระดูก

 

ระยะเวลาการสมานของกระดูก

เมื่อรากฟันเทียมโลหะถูกในกระดูกขากรรไกร กระบวนการสมานระหว่างกระดูกและรากเทียมจะเริ่มขึ้น ในกระบวนการนี้ กระดูกขากรรไกรจะเจริญเข้ากับยึดติดกับผิวรากฟันเทียม กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาน 2-3 เดือน เพื่อสร้างฐานรากเพื่อรองรับฟันเทียม เช่นเดียวกับรากฟันธรรมชาติ

 

การใส่เดือยรองรับครอบฟัน

เมื่อกระบวนการสมานของกระดูกและรากฟันเทียมสมบูรณ์ ทันตแพทย์จะทำการรักษาลำดับถัดไปโดยการใส่เดือยรองรับครอบฟันซึ่งคือ ชิ้นส่วนสำหรับประกอบครอบฟันและรากฟันเทียมซึ่งถูกฝังในกระดูกเข้าด้วยกัน ขั้นตอนสามารถทำได้ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ในคลินิกทันตกรรม

 

ขั้นตอนการใส่เดือยรองรับครอบฟัน

  • ทันตแพทย์ทำการเปิดเหงือกเพื่อเข้าถึงรากฟันเทียมที่ได้ฝังไว้
  • ยึดเดือยรองรับรากฟันเข้ากับรากฟันเทียม
  • เย็บปิดเหงือกบริเวณรอบรากฟันเทียม โดยระดับของเหงือกจะอยู่ต่ำของเดือยรองรับรากฟันเทียม

หลังการทำการผ่าตัด

หลังการทำการผ่าตัดรากฟันเทียม ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายจากการผ่าตัดได้ ดังต่อไปนี้

  • บวมบริเวณเหงือกและใบหน้า
  • ฟกช้ำบริเวณผิวหนังและเหงือก
  • ปวดแผลที่ทำการผ่าตัด
  • มีเลือดไหลเล็กน้อย

ผู้ป่วยจะได้รับการจ่ายยาปฎิชีวนะและยาระงับปวดหลังจากผ่าตัดฝังรากเทียม หากมีอาการบวม หรือปวดหลังผ่าตัดและ แย่ลง กรุณาติดต่อทันตแพทย์ ภายหลังจากการทำการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารอ่อน โดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์ใช้ไหมเย็บที่สามารถละลายได้เอง หรืออาจจำเป็นต้องตัดไหม หากไม่ได้ใช้ไหมเย็บที่สามารถละลายได้

 

ผลการรักษา

การรักษารากฟันเทียมโดยมากประสบความสำเร็จ แต่ทว่าในบางกรณีกระดูกอาจล้มเหลวในการสมานกับรากฟันเทียม เช่น ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มักพบล้มเหลวของกระดูกรากฟันเทียม และภาวะแทรกซ้อนได้มากชึ้น หากรากฟันเทียมไม่สามารถยึดกับกระดูกได้ รากฟันเทียมจำเป็นต้องนำออก ทำความสะอาดกระดูก และทำการผ่าตัดใหม่โดยรอประมาน 3 เดือน

 

การดูแลรักษารากฟันเทียมและฟันธรรมชาติ

  • ทำความสะอาดช่องปาก เช่นเดียวกับฟันธรรมชาติ การรักษาความสะอาดฟันเทียมและเหงือก แปรงสีฟันสำหรับซอกฟัน จะช่วยกำจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์รอบฟัน เหงือกและรากฟันเทียม
  • ติดตามและพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ การพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจฟันและ สภาวะของรากฟันเทียม
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง การเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งเช่น น้ำแข็งหรือกระดูกอ่อน ซึ่งสามารถทำให้ครอบฟันแตกหัก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือน้ำชา กาแฟซึ่งจะก่อให้เกิดคราบ และหากมีพฤติกรรมคบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะดังกล่าว
 
Scroll to Top