article

โรคถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร

โรคถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร โรคถุงน้ำเป็นพยาธิสภาพที่เกิดจากการโพรงที่มีเยื่อบุผิวและมีของเหลวอยู่ในโพรง มักจะขยายขนาดจากการมีแรงดันภายในถุงน้ำ ถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรสามารถพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาถุงน้ำในกระดูกทั่วร่างกาย เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมักจะมีเนื้อเยื่อบุผิวจากการสร้างฟันที่หลงเหลืออยู่ในกระดูกโดยมากมักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อจากฟันหรือฟันคุดฟันฝัง   อาการของโรค อาการของโรคถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรมักจะไม่มีอาการหากไม่มีการติดเชื้อร่วมด้วย ในขณะที่รอยโรคมีขนาดเล็กมักไม่พบความผิดปกติ แต่เมื่อถุงน้ำขยายขนาดขึ้นผู้ป่วยมักรู้สึกขากรรไกรบวมโตขึ้นมากกว่าปกติ หรือใบหน้าสองข้างไม่เท่ากันได้ โดยมากถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรมักจะขยายตัวช้า จึงขยายกระดูกออกไปพร้อมกันช้าๆ เมื่อคลำมักรู้สึกแข็ง ถุงน้ำอาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย หรือมีการระบายของเหลวออกมากในช่องปาก ฟันที่อยู่บริเวณถุงน้ำอาจจะถูกผลักให้เปลี่ยนตำแหน่งหรือมีการละลายของรากฟันร่วมด้วยและอาจทำให้ฟันโยก เส้นประสาทบริเวณถุงน้ำในขากรรไกรมักไม่ทำให้เกิดอาการชาริมฝีปาก อย่างไรก็ตามการติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดชาเกิดขึ้นได้   การวินิจฉัย การวินิจฉัยรอยโรคถุงน้ำในขากรรไกรทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิสภาพ และอาจตรวจพบถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรจากการถ่ายภาพรังสีร่วมกับการตรวจฟันได้ การรักษาถุงน้ำในขากรรไกรทำได้โดยการผ่าตัดรักษาโดยการลอกผิวถุงน้ำออกร่วมกับการเจาะระบายแรงดันของถุงน้ำ และโรคถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรโดยมากมักไม่เกิดขึ้นซ้ำ

โรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร

โรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร โรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกรเป็นโรคที่พบได้น้อยเกิดขึ้นกระดูกขากรรไกรหรือแสดงออกมาที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ส่วนมากเกิดจากเนื้อเยื่อที่หลงเหลือจากการสร้างฟัน สามารถพบได้หลากหลายขนาดขึ้นกับระยะการดำเนินโรค โดยมากเป็นเนื้องอกโตช้า แต่สามารถทำลายอวัยวะข้างเคียงเฉพาะที่ได้ โดยเฉพาะฟัน และกระดูก ทางเลือกในการรักษาโรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกรขึ้นกับปัจจัยต่างๆตาม ชนิดของเนื้องอก ระยะเวลา และอาการ โดยการรักษาส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัด หรือในบางกรณีร่วมกับการใช้ยาร่วมด้วย เนื้องอกในกระดูกขากรรไกรมักเกิดจากเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างฟัน โดยบางส่วนอาจเกิดจากเนื้อเยื่อประเภทอื่น หรือความผิดปกติของยีนบางชนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อปกติไปเป็นเนื้องอกได้   การวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกร จำเป็นต้องใช้การตรวจทางคลินิก การถ่ายภาพรังสีปกติ หรือภาพรังสีคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย แต่การจะได้มาซึ่งผลวินิจฉัยแน่ชัดต้องทำการตัดเนื้อเยื่อส่งตรวจพยาธิสภาพ การรักษาโรคเนื้องอกในกระดูกขากรรไกรขึ้นกับชนิดของเนื้องอก ตำแหน่งการเกิด ขนาดของเนื้องอกโดยที่ผู้ป่วยและแพทย์จำเป็นต้องร่วมกันวางแผนการรักษาเพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยแต่ละราย   การรักษา การรักษาเนื้องอกในกระดูกขากรรไกรโดยทั่วไปคือ การผ่าตัด โดยระหว่างการผ่าตัดแพทย์อาจจำเป็นต้องถอนฟันข้างเคียง ตัดเนื้อเยื่อและกระดูกออกบางส่วน และส่งไปตรวจพยาธิสภาพระหว่างการผ่าตัดเพื่อให้ทราบผลการผ่าตัดได้ทันที่ระหว่างผ่าตัด และปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม   การรักษาร่วมประเภทอื่น • การผ่าตัดบุรณะเนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกร • การใช้ยาร่วมกับการผ่าตัดในเนื้องอกบางชนิด • การดูแลผู้ป่วยด้านต่างๆที่เกี่ยงข้อง เช่น การกลืน การพูด รวมถึงการใส่ฟันเทียม ผู้ป่วยจำเป็นต้องติดตามผลการรักษาในระยะยาวเพื่อเฝ้าระวังการเป็นซ้ำของเนื้องอก

โรคมะเร็งในช่องปาก

โรคมะเร็งในช่องปาก โรคมะเร็งคือความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่สามารถเจริญได้อย่างไม่จำกัดและทำลายเนื้อปกติโดยรอบ โรคมะเร็งในช่องปากแสดงด้วยอาการเจ็บปวดหรือก้อนเนื้อที่โตขึ้นในปากและไม่ดีขึ้นตามเวลา อวัยวะที่สามารถพบโรคมะเร็งในช่องปากได้แก้ ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เนื้อพื้นปาก เพดานปาก และสามารถเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ในช่วงต้นของการดำเนินโรค   อาการของโรค อาการของโรคมะเร็งในช่องปากโดยทั่วไป • พบการบวมโต ก้อนเนื้อ หรือแผลบริเวณ ริมฝีปาก เหงือก หรือบริเวณอื่นๆในช่องปาก • พบรอยโรคสีขาว สีแดง หรือสีขาวปนแดงในปาก • พบเลือดผิดปกติไม่พบสาเหตุในปาก • มีอาการชา หรือเจ็บปวดไม่พบสาเหตุบริเวณใบหน้า ปาก และลำคอ • มีแผลบริเวณเนื้อเยื่อในช่องปากคล้ายแผลร้อนในและอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ • อาการเจ็บปวด หรือมีก้อนติดอยู่ในลำคอ • อาการกลืน เคี้ยวอาหาร พูด หรืออ้าปากได้ยาก • อาการน้ำหนักลด หากท่านพบอาการดังกล่าวข้างต้น ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจโดยทันที   ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก • การสูบบุหรี่หรือยาสูบ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่นั้นพบมะเร็งในช่องปากได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า …

โรคมะเร็งในช่องปาก Read More »

การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร

การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร Overview การผ่าตัดขากรรไกรหรือคำเต็มคือการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน เพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและจัดเรียงตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรและฟันให้อยู่ตำแหน่งใหม่ที่สมดุลในการสบฟัน และเพิ่มความสวยงามของรูปหน้า การผ่าตัดขากรรไกรเป็นทางเลือกในการแก้ไขการสบฟันผิดปกติที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปผู้ป่วยมักได้รับการติดเครื่องมือเพื่อแก้ไขการสบฟันก่อนการผ่าตัด และหลังการผ่าตัดเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทันตแพทย์จัดฟันจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทันตแพทย์ผ่าตัดช่องปากและกระดูกขากรรไกรเพื่อร่วมกันวางแผนการักษา การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรควรทำเมื่อผู้ป่วยหยุดการเจริญเติบโตซึ่งประมานอายุ 18 ปี ในผู้หญิง และ 20 ปีในผู้ชาย การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรสามารถแก้ไข • ประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร • แก้ไขการพูด หรือการกลืน • ลดการฟันสึกหรือฟันแตกมากเกินปกติ • แก้ไขการสบฟันเปิดหรือตำแหน่งที่ฟันไม่สามารถสัมผัสกันเมื่อกัดฟันเต็มที่ • แก้ไข้รูปหน้าที่ไม่สมมาตร หรือผิดสัดส่วนเช่น คางสั้น ยิ้มเห็นเหงือกมาก คางยื่น หรือปากอูมผิดปกติ • แก้การปิดปากไม่สนิทในสภาวะผ่อนคลาย • บรรเทาอาการหยุดหายใจในขณะนอน หรือภาวะนอนกรน   ความเสี่ยง การผ่าตัดขากรรไกรโดยทั่วไปเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยหากผ่าตัดโดยทันตแพทย์ผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร ที่ทำงานร่วมกับทันตแพทย์จัดฟัน ความเสี่ยงจากการผ่าตัด • สูญเสียเลือด • แผลติดเชื้อ • อาการชาบริเวณริมฝีปาก • กระดูกขากรรไกรหักอย่างไม่พึงประสงค์ • การกลับคืนตำแหน่งเดิมก่อนการผ่าตัด • การสบฟันไม่สนิทหรือปวดข้อต่อขากรรไกร …

การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร Read More »

การผ่าตัดฝังรากเทียม Dental implant surgery

การผ่าตัดฝังรากเทียม  Dental implant surgery   การผ่าตัดฝังรากเทียมเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปด้วยรากฟันเทียมโลหะ โดยมีรูปร่างคล้ายสกรู เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาสามารถทดแทนฟันที่ขาดหายได้อย่างใกล้เคียงฟันธรรมชาติ การฝังรากเทียมสามารถทดแทนการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้หรือสะพานฟันซึ่งอาจหลวมหรือไม่พอดี และหลีกเลี่ยงการเตรียมฟันธรรมชาติเพื่อรองรับสะพานฟัน กระบวนการผ่าตัดฝังรากเทียมขึ้นอยู่กับชนิดของรากฟันเทียมและลักษณะของกระดูกสันเหงือก การผ่าตัดฝังรากเทียมอาจมีขั้นตอนได้หลากหลายขึ้นกับความซับซ้อนของการบูรณะ โดยเป้าหมายสำคัญคือการให้ความแข็งแรงแก่รากฟันเทียม ซึ่งต้องการความยึดติดของกระดูกรอบรากฟันเทียม ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาดังนั้นกระบวนการรักษาอาจใช้เวลานานหลายเดือน     ประโยชน์ของรากฟันเทียม   รากฟันเทียมจะถูกฝังลงในกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียรากฟันธรรมชาติไป ซึ่งจะรองรับครอบฟันเทียม เนื่อด้วยรากฟันเทียมผลิตจากโลหะไทเทเนียมซึ่งสามารถเข้ากันกับเนื้อกระดูกขากรรไกรได้ดี รากฟันเทียมจึงไม่สามารถขยับ หลวม นอกจากนี้วัสดุของรากฟันเทียมไม่สามารถผุกร่อนได้ ต่างจากเนื้อฟันธรรมชาติ   ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับรากฟันเทียม สูญเสียฟันหนึ่งซี่ หรือบางส่วนของขากรรไกร กระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม หรือสามารถผ่าตัดเสริมกระดูกได้ มีสุขภาพเนื้อเยื่อและเหงือกที่ดี ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในเนื้อกระดูก ไม่สามารถใช้ฟันเทียมถอดได้ ต้องการ การพูดที่ดีขึ้น สามารถรับการักษาต่อเนื่องได้ ไม่สูบบุหรี่     ความเสี่ยง เฉกเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ การผ่าตัดฝังรากเทียมมีความเสี่ยงบางประการ ปัญหาจากการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นและพบได้ ได้แก่ ติดเชื้อที่ตำแหน่งรากฟันเทียม บาดเจ็บหรือทำลายอวัยวะรอบข้าง เช่น ฟันข้างเคียงหรือเส้นเลือด บาดเจ็บเส้นประสาท ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรือความรู้สึกคล้ายเหน็บชาที่บริเวณ ฟัน …

การผ่าตัดฝังรากเทียม Dental implant surgery Read More »

การผ่าตัดยกเยื่อไซนัส

การผ่าตัดยกเยื่อไซนัส การผ่าตัดเพื่อยกเยื่อไซนัสนั้นทำเพื่อการเสริมความสูงของกระดูกบริเวณขากรรไกรบนบริเวณฟันกราม หรือเรียกว่า การเสริมกระดูกไซนัส กระดูกที่เสริมระหว่างกระดูกขากรรไกรและโพรงอากาศของขากรรไกรบน ซึ่งอย่างข้างจมูกทั้งสองข้าง ในการสร้างกระดูกจำเป็นต้องยกเยื่อโพรงอากาศ และจำเป็นต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร   ผู้ป่วยทำจำเป็นต้องทำการผ่าตัดยกเยื่อไซนัส การผ่าตัดยกเยื่อไซนัสจำเป็นต้องทำเมื่อความสูงของกระดูกของขากรรไกรบน หรือโพรงอากาศอยู่ใกล้กับช่องปากมากเกินกว่า ที่จะสามารถทำการรองรับการผ่าตัดฝังรากเทียมได้ โดยสามารถเกิดขึ้นในผู้ป่วยได้หลายกรณีเช่น ผู้ที่สูญเสียฟันบริเวณขากรรไกรบน โดยเฉพาะฟันหลัง และไม่มีปริมาณกระดูกเพียงพอสำหรับรากฟันเทียม เนื่องจากลักษณะตามธรรมชาติของกระดูกขากรรไกรบนบางกว่ากระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกสูญเสียเนื่องจากโรคเหงือกหรือปริทันต์อักเสบ การสูญเสียฟันเป็นระยะเวลานาน เมื่อฟันถูกถอนไปกระดูกโดยรอบจะเริ่มละลายตัว และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกระดูกจะมีการละลายตัวมากจนไม่สามารถรองรับรากฟันเทียมได้ ตำแหน่งของโพรงอากาศขากรรไกรบนอยู่กับตำแหน่งการผ่าตัดฝังรากเทียมมากเกินไป ทั้งนี้ขนาดและรูปร่างของโพรงอากาศมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และสามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ตามอายุ   การเตรียมการ กระดูกที่นำมาใช้ในการผ่าตัดยกเยื่อไซนัส สามารถเลือกใช้กระดูกของผู้ป่วยเอง จากบุคคลอื่น สัตว์ หรือกระดูกเทียมสังเคราะห์ ในกรณีเลือกใช้กระดูกของผู้ป่วยเองนั้น สามารถเลือกกระดูกจากช่องปากหรือบริเวณอื่นของร่างกายได้เช่น กระดูกสะโพกหรือกระดูกหัวเข่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการถ่ายภาพรังสีก่อนได้รับการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสเพื่อศึกษาลักษณะของกระดูกขากรรไกรและโพรงอากาศ การถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์โทโมแกรมหรือซีที ให้รายละเอียดด้านความกว้างและสูงของกระดูกและบอกถึงสภาวะของเยื่อโพรงอากาศ หากผู้ป่วยมีภาวะแพ้อากาศ หรือไซนัสอักเสบควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงที่มีสภาวะดังกล่าว   กระบวนการผ่าตัด ทันตแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดทำการกรีดเหงือกในตำแหน่งที่ต้องการเสริมกระดูก เปิดแผ่นเหงือกเพื่อเข้าถึงกระดูก หลังจากนั้นทำการกรอกระดูกเป็นช่องขนาดเล็ก ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์สามารถเข้าถึงเยื่อโพรงอากาศไซนัส และใช้เครื่องมือแยกเยื่อไซนัสออกจากกระดูกขากรรไกรอย่างแผ่วเบา ทันตแพทย์จะนำผงกระดูกสำหรับปลูกกระดูกใส่ไประหว่างโพรงอากาศ ปริมานกระดูกที่ใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นกับความสูงของกระดูกที่ต้องการเพื่อรองรับรากฟันเทียม เมื่อกระดูกถูกปลูกเข้าไปเป็นที่เสร็จสิ้น ทันตแพทย์ทำการเย็บปิดเหงือก หากในกรณีที่สามารถฝังรากเทียมพร้อมกับการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสได้ทันที ทันตแพทย์จึงผ่าตัดฝังรากเทียมไปในบริเวณที่วางแผนไว้ โดยจะสามารถลดระยะเวลาการรอเพื่อการสมานของกระดูกได้   …

การผ่าตัดยกเยื่อไซนัส Read More »

การปลูกกระดูกฟันในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

การปลูกกระดูกฟันในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่   การปลูกกระดูกฟันเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มกระดูกสันเหงือกในผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ช่วงอายุที่เหมาะสมในการปลูกกระดูกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากควรทำในช่วงฟันแท้ที่ใกล้ตำแหน่งปากแหว่งเพดานโหว่กำลังงอกขึ้นมาในช่องปาก หรืออายุ 7-12 ปี การผ่าตัดปลูกกระดูกกระทำภายใต้การนำสลบทั่วร่าง ดังนั้นขณะทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะหลับและไม่สามารถจดจำขณะผ่าตัดได้ การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดภายใต้การนำสลบทั่วร่าง ผู้ป่วยจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ระยะเวลาในการผ่าตัดมักใช้เวลาประมาณ 2-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของปากแหว่ง เพดานโหว่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หลังผ่าตัด ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่มักจะมีปัญหากระดูกฟันหรือสันเหงือกโหว่ กระดูกฟันหรือสันเหงือกคือกระดูกเบ้าฟันเพื่อรองรับฟัน เมื่อภาวะกระดูกปากแหว่ง เพดานโหว่ ผู้ป่วยมีความวิการบริเวณกระดูกฟัน หรือรูโหว่ระหว่างปากและช่องจมูก ช่องโหว่นี้จะทำให้ฟันไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ และพื้นจมูกผิดปกติ การซ่อมแซมโดยการปลูกกระดูกจะช่วยพัฒนาการด้านสุขภาพฟันซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยดังนี้ การกิน การกลืน การเจริญของกระดูกใบหน้า นอกจากนี้ยังส่งผลในบุลคลิกภาพ ซึ่งเสริมสร้างความมั่นใจ การปลูกกระดูกสันเหงือกเป็นการซ่อมแซมช่องโหว่ของสันเหงือก และเสริมความแข็งแรงของสันกระดูกเพื่อให้เสริมความนูนของฐานจมูก กระดูกใหม่ที่ปลูกจะช่วยให้รากฟันเจริญได้อย่างสมบูรณ์ โดยช่วงเวลาการผ์าตัดมักจะทำช่วงรากฟันเขี้ยวสร้างตัวได้ประมานสามในสี่ส่วน การปลูกกระดูกนั้นมักนำมาจากกระดูกสะโพกของผู้ป่วยเองโดยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะเปิดแผลยาวประมาน 3-6 เซนติเมตรเหนือสันกระดูกสะโพก โดยจะทำการเปิดเปลือกกระดูกแข็งภายนอก เพื่อนำส่วนของไขกระดูกด้านในที่มีลักษณะร่วนและนิ่ม เพื่อให้ให้สามารถปรับรูปร่างได้ตามช่องโหว่ของสันเหงือกได้ เหงือกจะถูกเย็บปิดเพื่อหุ้มกระดูกที่ปลูกล้อมรอบ ไหมเย็บจะถูกทิ้งไว้จนกระทั่งเหงือกสมานตัวกัน   การดูแลภายหลังการผ่าตัด ภายหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยควรทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน ไม่ดูดหลอดจนแผลจะหายดี ภายใน 24 …

การปลูกกระดูกฟันในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ Read More »

ฟันสวย โครงหน้าเข้ารูป…ด้วยการจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร

หากคุณกำลังประสบปัญหาความผิดปกติของฟันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นกระทบต่อรูปหน้า การจัดฟันธรรมดาคงไม่ตอบโจทย์ รพ.พญาไท 2 เรามีทางออกที่จะช่วยให้คุณได้ยิ้มและพูดอย่างมั่นใจอีกครั้ง การจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร (Orthognathic surgery) คือการจัดฟันร่วมกับการศัลยกรรมกระดูกขากรรไกร เพื่อผ่าตัดแก้ไขรูปทรงของกระดูกขากรรไกรให้กลับมาอยู่ในจุดที่เหมาะสม พร้อมปรับตำแหน่งของฟันให้เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม เพื่อให้คุณสามารถใช้งานฟันได้เต็มศักยภาพอีกทั้งยังช่วยให้สภาพใบหน้าที่ผิดรูปกลับมาดีขึ้นอีกด้วย การจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร…เหมาะกับใครบ้าง? การจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกรสามารถแก้ไขปัญหาในกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติของขากรรไกรแต่กำเนิด มีปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรที่ผิดรูปหรือในบางกลุ่มก็เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านการบดเคี้ยวอาหาร พูดไม่ชัด กลืนน้ำและอาหารได้ลำบาก เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด จนอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหารในอนาคตได้โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ สบฟันผิดปกติ บิดเบี้ยว การเรียงตัวของฟันผิดปกติ จัดฟันแบบธรรมดาไม่สำเร็จ หุบริมฝีปากไม่ได้ คางยื่นมาก/คางหดสั้นมาก ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะ หายใจติดขัด/กลืนอาหารลำบาก ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร จัดฟันก่อนผ่าตัด  แก้ไขการเรียงตัวของฟันให้เป็นระเบียบ และปรับตำแหน่งของฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ฟันในแต่ละขากรรไกรกลับมาสบกันถูกตำแหน่งภายหลังการผ่าตัดส่วนมากใช้เวลา 1 ปีครึ่ง–2 ปี ผ่าตัดขากรรไกร  หลังจากจัดฟันให้ได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วทันตแพทย์จะตรวจวิเคราะห์โครงหน้าของผู้ป่วยและลักษณะการสบฟันให้ละเอียดอีกครั้งก่อนผ่าตัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็นเพื่อเค้าโครงใบหน้าที่สวยงามการผ่าตัดใช้เวลา 2 – 5 ชั่วโมง พักฟื้นในโรงพยาบาล 3 – 7 วัน แล้วกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ จัดฟันหลังผ่าตัด  เพื่อเก็บรายละเอียดการจัดฟันให้เข้าที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสบฟันการเรียงตัวของฟันใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว คนไข้จะต้องใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันไว้เหมือนการจัดฟันปกติและยังต้องมาพบทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ขากรรไกรเกิดการเคลื่อนตัวผิดตำแหน่ง ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร …

ฟันสวย โครงหน้าเข้ารูป…ด้วยการจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร Read More »

Scroll to Top